Posted on

การกัด หรือ มิลลิ่ง (Milling) มีอะไรบ้าง ไปรู้จักกันเลย

โรงกลึง,รับขึ้นรูปโลหะ,รับผลิตชิ้นส่วนตามแบบ,กลึงชิ้นส่วนตามแบบ,กลึงCNC,โรงกลึงCNC,รับผลิตอะไหล่เครื่องจักร,กลึงงาน,กลึงโลหะ,ผลิตชิ้นงานตามแบบ,ผลิตชิ้นส่วนสมุทรปราการ,กัดเฟือง,โรงงานผลิตชิ้นงาน,มิลลิ่ง,รับกลึงงาน,รับCNC,ขึ้นรูปทุกวัสดุ,ลูกกลิ้งอุตสาหกรรม,กัดCNC,ขึ้นรูปอลูมิเนียม

การกัดมีแบบไหนบ้าง

  • การกัดแนวตั้ง (Face Milling) ดอกกัดจะถูกติดตั้งกับหัวจับยึดเครื่องมือตัด และหมุนรอบแกนในแนวตั้ง โดยมีคมตัดที่ปลายและขอบด้านนอกของดอกกัด ทำให้ผิวงานกัดจะเรียบกว่างานแนวนอน เนื่องจากแรงกดน้อยกว่า 
  • การกัดแนวนอน (Horizontal Milling) เป็นกระบวนการตัดเฉือนโดยวางหัวกัดขนานกับชิ้นงาน หัวกัดจะสวมเข้ากับแกนสวมมีด และหมุนรอบแกนในแนวนอน แต่ละทิศทางจะแตกต่างกัน คือการกัดทวนเข็ม และ การกัดตามเข็ม

การกัดชิ้นงาน มีกี่ประเภท ??

  • การกัดราบ Slab Milling
  • การกัดราบใช้เพื่อสร้างผิวราบ เรียบในแนวนอนขนานกับแกนหมุนของดอกกัด Plain slab mills โดยดอกกัดจะมีความกว้างที่ขยายเกินชิ้นงานออกไปทั้งสองด้าน
  • การกัดร่อง Slotting Milling
  • การกัดร่อง ความกว้างของเครื่องมือตัดจะน้อยกว่าความกว้างของชิ้นงาน ทำให้เกิดเป็นร่องลึกหรือช่องในงาน สามารถทำร่องบนชิ้นงานได้หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นร่องสั้น ยาว กว้าง แคบ ลึก ตื้น รวมถึงร่องปิด ร่องเปิด เป็นแนวตรงหรือโค้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องมือตัดที่ใช้งาน ชิ้นงานสามารถตัดออกจากกันเป็นสองชิ้นได้ โดยการกัดร่องเล็กๆ ตลอดความลึกของชิ้นงาน จะเรียกวิธีนี้ว่า การเลื่อย
  • การกัดข้าง Side Milling
  • การกัดข้าง เป็นการกัดเพื่อสร้างพื้นผิวแนวตั้งเรียบที่ด้านข้างของชิ้นงาน โดยใช้หัวกัดข้าง (Side Milling Cutter) สามารถกำหนดความลึกของการตัดได้ โดยการปรับระดับโต๊ะ
  • การกัดคร่อม Straddle Milling
  • การกัดคร่อม เป็นการกัดแนวนอนคล้ายกับการกัดข้าง ทำได้โดยการติดตั้งหัวกัด 2 ชิ้น บนแกนสวมมีด (Arbor) เดียวกัน และคั่นด้วยที่กั้นระยะ แหวนรอง และแผ่นชิม เพื่อให้ระยะห่างระหว่างฟันตัดของใบมีดเท่ากับความกว้างของพื้นที่ชิ้นงานที่ต้องการพอดี หัวกัดคร่อมบนชิ้นงาน จึงสามารถกัดชิ้นงานทั้งสองด้านได้พร้อมกัน มักใช้ตัดงานที่ขนานกัน หรือตัดชิ้นงานตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปในครั้งเดียว ลดการทำงานสองกระบวนการลง และยังควบคุมความกว้างของงานได้อย่างแม่นยำ สามารถใช้วิธีนี้ในการตัดชิ้นงานให้เป็นสี่เหลี่ยมหรือหกเหลี่ยมได้ โดยจับยึดด้วยฟิกเจอร์แบบหัวแบ่ง หรือปากกาจับชิ้นงานแบบหมุน แล้วทำการตัดด้านหนึ่งของงาน จากนั้นให้หมุนแกนหมุนของฟิกเจอร์หรือปากกาจับชิ้นงาน 90 องศา แล้วจึงกัดคร่อมอีกสองด้านของชิ้นงาน ก็จะได้ชิ้นงานรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส
  • การกัดโค้ง Contour Milling
  • การกัดโค้งเป็นการกัดชิ้นงานให้เป็นรูปทรงโค้ง นูน เว้า หรือรูปทรงอื่นๆด้วยหัวกัดที่มีรูปทรงพิเศษซึ่งเป็นตัวกำหนดรูปร่างของร่องที่ตัด
  • การกัดปาดหน้า Conventional Face Milling
  • การกัดปาดหน้า หรือ การกัดผิวหน้าราบ เป็นการกัดโดยใช้หัวกัดปาดหน้า (Face milling cutter) ที่มีขนาดใหญ่เพื่อปาดผิวหน้าของชิ้นงานออกเป็นบริเวณกว้าง สร้างพื้นเรียบ มักใช้งานที่ต้องการความเรียบผิวที่ดีและต้องได้ค่าความขนานของชิ้นงาน
  • การกัดบ่า Partial Face Milling
  • การกัดบ่าเป็นงานกัดขั้นพื้นฐานที่มีเครื่องมือจะสร้างระนาบและพื้นผิวบ่าฉากพร้อมกัน ซึ่งต้องใช้การกัดขอบนอกร่วมกับการกัดปาดหน้า หนึ่งในข้อกำหนดที่สำคัญที่สุดคือการกัดให้ได้90องศา การกัดบ่าฉากสามารถทำได้โดยใช้หัวกัดบ่า Long edge Cutter หัวกัดข้าง หัวกัดหน้า และดอกเอ็นมิลได้ เนื่องจากตัวเลือกมากมายเหล่านี้ ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องพิจารณาข้อกำหนดในการกัดอย่างรอบคอบ เพื่อเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมที่สุด
  • การกัดร่องหรือการกัดด้วยดอกเอ็นมิล End Milling 
  • เป็นการกัดชิ้นงานในแนวตั้งด้วยดอกกัด หรือดอกเอ็นมิล ที่เส้นผ่าศูนย์กลางจะน้อยกว่าความกว้างของงาน เนื่องจากดอกเอ็นมิล มีคมตัดทั้งด้านข้างและส่วนปลาย รวมถึงมีรูปทรงมากมายให้เลือกใช้ ดังนั้นจึงสามารถทำการตัดชิ้นงานได้หลายรูปแบบ ทั้งงานกัดขึ้นรูป กัดตามรอย กัดขอบ กัดปาดหน้า และกัดร่อง
  • การกัดรูปร่าง Profile Milling
  • กระบวนการกัดด้วยดอกเอ็นมิล ทั้งการกัดหลายแกนเป็นทรงตรง รูปร่างนูนโค้งเว้าแบบ2 และ3 มิติ รวมถึงการกัดลวดลายที่ซับซ้อนบนชิ้นงานในการทำงานครั้งเดียว มักใช้ในการกัดกึ่งละเอียด หรือ การกัดละเอียด พื้นผิวแนวตั้งหรือลาดเอียงเพื่อขึ้นรูปชิ้นงาน สร้างรูปทรงบนผิวชิ้นงานให้โค้งหรือตรงได้ตามความต้องการ
  • การกัดหลุม Pocket Milling 
  • การกัดหลุม เป็นการกัดแบบเฉพาะส่วนบนพื้นผิวหน้าของชิ้นงาน ให้เป็นหลุมตื้นๆ ด้วยดอกกัดหรือดอกเอ็นมิล
  • การกัดต่างระดับ หรือ การกัดผิวโค้ง Surface Milling
  • เป็นการทำให้เกิดผิวโค้งบนงานด้วยดอกกัดหัวบอล หรือ ดอกเอ็นมิลปลายมน (Ball Nose Endmill) ถูกป้อนกลับไปกลับมาทั่วงานตามแนวโค้ง เพื่อสร้างรูปทรงพื้นผิวสามมิติที่ต้องการบนพื้นผิวชิ้นงานมักใช้เพื่อสร้างรูปทรงแม่พิมพ์ (Molds and Dies 

     

    การกัดชิ้นงาน การมิลลิ่ง มีกระบวนการวิธีคือการตัดเฉือนชิ้นงาน ให้ได้ขนาดตามแบบด้วยการทำให้ชิ้นงานเคลื่อนผ่านเครื่องมือตัดที่หมุนอยู่กับรอบแกน (Spindle)  เครื่องมือตัดจะถูกกดเข้ากับชิ้นงานเพื่อกดวัสดุให้หลุดจากชิ้นงาน โดยการตัดเฉือนเกิดขึ้นจากการหมุนมีดกัดงานหรือคัตติ้งทูล (Cutting tools) ให้มีความเร็วที่เหมาะสม ซึ่งทูลจะมีลักษณะคล้ายดอกสว่านสำหรับเจาะชิ้นงาน แต่มีคมตัดที่สามารถตัดเฉือนจากด้านในได้ เมื่อคมตัดสัมผัสกับชิ้นงานก็จะตัดเฉือนออกไปทีละนิดทีละน้อย เป็นกระบวนการหลักในการผลิตชิ้นส่วน สามารถใช้กับวัสดุหลากหลาย เช่น เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส ทองแดง พลาสติก 

    เครื่องกัด (Milling Machine) คือเครื่องจักรที่ใช้สำหรับกัดชิ้นงาน โดยหลักการ เครื่องกัดจะประกอบด้วย แกนหมุน (Spindle) คือส่วนที่ทำหน้าที่จับยึดเครื่องมือตัดและขับเคลื่อนให้เครื่องมือตัดหมุนด้วยสปีดสูง และ โต๊ะจับชิ้นงาน คือโต๊ะที่ใช้วางและจับยึดชิ้นงานให้มั่นคง เพื่อให้ชิ้นงานอยู่นิ่งอย่างมั่นคงอันเกิดจากแรงที่เกิดจากการกัดชิ้นงาน

    เมื่อติดตั้งเครื่องมือตัดแล้วจะสามารถปรับความเร็วของแกนSpindle ให้เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการผลิต แนวขึ้นลงจะเป็นแกน Z ส่วนแนวยาวจะเป็นแกน X และแนวขว้างจะเป็นแกน Y และยังสามารถตั้งค่า Table เคลื่อนที่เป็นแนวตรงเพื่อป้อนชิ้นงานเข้าหาFeed ด้วยความเร็วคงที่เพื่อให้ผิวของชิ้นงานเรียบเนียนทั้งชิ้นงาน

    เครื่องแมชชีนนิ่งเซ้นเตอร์ (Machining center) คือเครื่องกัดชิ้นงานแบบอัตโนมัติ ซึ่งต่างกับแบบธรรมดา ที่การควบคุมจะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ รวมถึงการเปลี่ยนชนิดของทูลได้อัตโนมัติ ทำให้การทำงานต่อเนื่องจนจบกระบวนการโดยไม่ต้องใช้คนในการผลิต ไม่ต้องเสียเวลาหยุดเครื่องจักร ลดความผิดพลาด เพื่มประสิทธิภาพการทำงาน